เมนู

อกัมมนิยวรรคที่ 3



[22] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน.
[23] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน.
[24] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน
จิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่.
[25] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.
[26] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่
ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[27] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[28] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[30] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์
มาให้.
[31] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้.

จบ อกัมมนิยวรรคที่ 3

อรรถกถาอกัมมนิยวรรคที่ 3



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 3 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวิภาวิตํ ความว่า ไม่เจริญ คือไม่เป็นไปด้วยอำนาจ
ภาวนา บทว่า อกมฺมนิยํ โหติ ได้แก่ ย่อมไม่ควรแก่งาน คือไม่คู่ควร
แก่งาน.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 พึ่งทราบความโดยปริยายดังกล่าวแล้ว ก็บทว่า
จิตฺตํ ในสูตรที่ 1 นั้น ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ (ในสูตรที่ 2
ได้เก่จิตที่เกิดด้วยอำนาจวัฏฏะ) ก็ในสองอย่างนั้น พึงทราบความ
แตกต่างกันดังนี้ คือ วัฏฏะ วัฏฏบาท วิวัฏฏะ วิวัฏฏบาท กรรมอัน
เป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า วัฏฏะ กรรมคือการกระทำเพื่อได้วัฏฏะ ชื่อว่า
วัฏฏบาท โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า วิวัฏฏะ กรรมคือการปฏิบัติเพื่อได้
วิวัฏฏะ ชื่อว่า วิวัฏฏบาท ท่านกล่าววัฏฏะและวิวัฏฏะ ไว้ในสูตร
เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2